กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน


กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

วิสัยทัศน์ขององค์กร เป็นศูนย์กลางการแพทย์ชั้นเลิศในดวงใจแห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
พันธกิจขององค์กร ให้บริการสาธารณสุขครบทุกมิติ ทุกระดับและร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์ด้วยความร่วมมือทั้งภาครัฐและประชาชน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในเขตสุขภาพที่ 1 และอนุภาคลุ่มน้ำโขง

บริบท ( Context)
1. บริบท งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ก.หน้าที่และเป้าหมาย
ให้บริการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมการส่งเสริมป้องกันรักษาและฟื้นฟูในกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ทุกประเภท ทุกกลุ่มอายุโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยได้รับการบริการตามมาตรฐานวิชาชีพ รวดเร็วทันเวลา เกิดความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

ข.ขอบเขตการให้บริการ
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทุกประเภท (Emergency department) และให้บริการ EMS (Prehospital care) ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นศูนย์รับส่งต่อ Refer (Interfacility transfer) ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงรายและเครือข่าย ก่อนส่งต่อ ไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ และงานรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการ (Observation unit) จำนวน 30 เตียง เป็นองค์กรนำให้การวางแผน รูปแบบการตอบสนองต่อสาธารณภัยของโรงพยาบาล(Disaster management) และบริการวิชาการแก่ชุมชน และเป็นแหล่งฝึกอบรมบุคลากรทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน(emergency medical education) ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน ตรวจรักษานอกเวลาราชการ
หน้าที่หลัก : บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย ผู้ให้และผู้รับบริการพึงพอใจ

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
- การเข้าถึงบริการรวดเร็ว
- การรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
- ผู้ป่วยปลอดภัย
- ผู้ให้และผู้รับบริการพึงพอใจ
ประกอบด้วย
1. งานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
2. งานตรวจรักษาผู้ป่วยที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน(ER)
3. งานประสานส่งต่อผู้ป่วยระดับเขต(Refer)
4. งานศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ

อัตรากำลัง





แผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องสำคัญ

ยุทธศาสตร์ที่1. ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิถึงศูนย์ความเป็นเลิศ

R1อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ < 8%
1.ผู้ป่วยโรค AMI ได้รับการตรวจEKG ภายใน 10 นาที มากกว่า 80%
2.ผู้ป่วย STEMI มาโดยระบบ EMS มากกว่า 50%
3.Door to needle time ผู้ป่วย fast track STEMI ภายใน30นาที มากกว่า 60 %
4.อัตราตายผู้ป่วยขณะส่งต่อ น้อยกว่าร้อยละ 1
5.อัตราผู้ป่วยวิกฤต-ฉุกเฉินได้รับการประสานการส่งต่อ เท่ากับร้อยละ 100
6.อุบัติการณ์การปฏิเสธรับผู้ป่วยกลับมารักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ (refer receive) เท่ากับ 0

R2 อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง <9
1.ผู้ป่วย STROKE .ในเขตเมืองมาโดยระบบEMS มากกว่า 50%
2. Door to needle time ผู้ป่วย fast track stroke ภายใน 60 นาที มากกว่า 80%

R3 อัตราตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุน้อยกว่า16ต่อแสนประชากร
1.อุบัติการณ์เสียชีวิตในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีค่า PS> 0.75 น้อยกว่าร้อยละ 3
2.ระยะเวลา set OR จากห้องฉุกเฉินจนถึงห้องผ่าตัดในผู้ป่วย trauma fast track ภายใน 10นาที
3. อัตราผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่เข้าระบบ Fast track ไม่ได้รับการผ่าตัดภายใน 120 นาที น้อยกว่าร้อยละ 10

R4 อัตราการเสียชีวิตในโรคที่สำคัญทางอายุรกรรมลดลง
1.ผู้ป่วย sepsis ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1ชั่วโมง เท่ากับ100%
2.ผู้ป่วยseptic shock ได้รับการทำ IVC เพื่อประเมินสารน้ำ มากกว่า80%
3..ผู้ป่วย septic shock ได้admitted เข้าICU =80%

สถานที่
จุด Triage ,Zone Resuscitation8เตียง, Zone Urgency8เตียง , Zone ห้องแยกโรค2เตียง , zone OSCC, non urgency/ARI area


เครื่องมือพิเศษและเทคโนโลยี : defib 3 ,u/s 3 ,CPR device 6, I/O gun 1 ,viedeo laryngoscope 1,radian warmer 1, incubator1 , เครื่องอุ่นเลือด 1 Central monitor13 EPOC 1 ระบบAOC

ความภาคภูมิใจ

-ได้รับรางวัลผลงานวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉินดีเด่นประเภทโปสเตอร์การพัฒนาคุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจังหวัดเชียงราย ในการประชุมวิชาการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติปี 2559
-ได้รับคัดเลือกโรงพยาบาลที่มีศักยภาพอุบัติเหตุฉุกเฉินพร้อมพัฒนาสู่ ER ดีเด่นประจำปี 2559 (ระดับA) งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินและสาธารณภัย ครั้งที่ 3 ปี 2559 จ.เชียงใหม่
- รางวัลเลิศรัฐประเภทการบริการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นวัตกรรมระบบการบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์ (ambulance operation center) 2563
-ผ่านการประเมิน ECSคุณภาพ 2563
-ผ่านการประเมิน HNA ECS 2565


06/10/2023 14:47 By golf